Headless WordPress

ตัวอย่างการนำบทความจากเว็บ WordPress โดยเรียกผ่าน WordPress REST API แบบ Custom Endpoints

เช่น เว็บไซต์ i.thaiui.com ที่ทำการติดตั้งธีม Root จะมี Custom Endpoints ที่เรียกข้อมูลจาก WordPress ที่อยู่ที่ https://i.thaiui.com/wp-json/root/v1/dessert

นำข้อมูลมาแสดงดังนี้


ตัวอย่างขนมไทย

ตะโกข้าวโพด

ตะโกข้าวโพด

ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมกับแป้งเท้ายายม่อมกวนเข้ากับน้ำตาล ใส่แห้วหรือข้าวโพดเป็นต้นก็ได้ หยอดหน้าด้วยกะทิกวนกับแป้ง

ทดสอบ

สังขยาในลูกฟักทอง

สังขยาในลูกฟักทอง

สังขยาในไทยเป็นขนมที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ได้รับอิทธิพลจากโปรตุเกส นิยมรับประทานกับข้าวเหนียว หรือใส่ในฟักทอง เผือกหรือมะพร้าว แล้วนำไปนึ่ง เป็นคนละชนิดกับสังขยาที่ปรุงด้วยการกวนและมักกินกับขนมปัง

ขนมต้ม

ขนมต้ม

ขนมต้มเป็นขนมที่มีหลักฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เข้ามาพร้อมกับศาสนาพราหมณ์และลัทธิความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้า โดยเชื่อกันว่าพระพิฆเนศโปรดขนมนี้มาก ครั้งหนึ่งเสวยเข้าไปจนเต็มพุง เมื่อขี่หนูกลับวิมาน ระหว่างทางหนูมาเจองู ตกใจจึงหยุดทันที พระพิฆเนศตกจากหลังหนู พุงแตก พระพิฆเนศเสียดายขนมจึงกอบเข้าใส่พุงใหม่แล้วเอาซากงูที่ตีตายแล้วมาพันพุงไว้ แล้วจึงกลับไปวิมาน ต่อมาได้มีบทบาทสำคัญในพิธีบวงสรวงเทวดา ในพิธีกรรมต่างๆ เช่น ยกเสาเอก ตั้งศาลพระภูมิ ในประเพณีสู่ขอแต่โบราณในบางท้องที่ใช้ขนมต้มด้วย ดังมีเพลงพวงมาลัยร้องเล่นว่า

ขนมวง

ขนมวง

ขนมวง หรือ เข้ามูนข่วย เป็นขนมชนิดหนึ่งของชาวไทใหญ่ เป็นรูปวงกลมมีรูตรงกลางคล้ายกำไลหรือโดนัท ทำจากแป้งข้าวเหนียวนวดกับน้ำและมะพร้าวขูด นำไปคลุกกับงาขาวแล้วต่อให้เป็นวงกลม ทอดในน้ำมันให้สุก พอขนมเย็นลงจึงนำไปชุบน้ำตาลอ้อยให้ทั่ว ชาวไทใหญ่นิยมทำขนมนี้ในงานปอยหรืองานบุญ นอกจากนี้ยังมีอาหารของชาวไทพวนซึ่งมีลักษณะเดียวกัน เรียกว่า ข้าวโค้ง ทำจากแป้งข้าวเหนียว น้ำ มะพร้าวขูดฝอย และมันเทศซึ่งนึ่งจนสุกบดให้ละเอียด นำมานวดด้วยกันจนเนื้อเนียน จากนั้นก็ปั้นแป้งเป็นเส้น แล้วจับมาโค้งเข้าหากัน ก่อนนำไปทอด เป็นที่มาของชื่อ

ลอดช่อง

ลอดช่อง

ลอดช่อง คือ ขนมพื้นบ้านที่ใช้แป้งข้าวเจ้าเป็นวัตถุดิบ เป็นที่นิยมแพร่หลายในไทยชนิดหนึ่ง มีจุดกำเนิดร่วมในทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากอินโดนีเซีย มาเลเซีย เรียกว่า เจ็นดล (มลายู: cendol; จีน: 珍多冰, zhēn duō bīng; เจินโตวปิง) อีกทั้งยังแพร่หลายในสิงคโปร์ เวียดนาม และพม่า (เรียกว่า โหมะน์และส้อง, မုန့်လက်ဆောင်း) ในประเทศไทย บางครั้งเรียกลอดช่องว่า ลอดช่องสิงคโปร์ มีที่มาจากชื่อร้านสิงคโปร์โภชนาที่เยาวราช กรุงเทพมหานคร

ทองหยอด

ทองหยอด

ทองหยอด บทความ อภิปราย อ่าน แก้ไข ดูประวัติ เครื่องมือ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย บทความนี้สั้นมาก ต้องการเพิ่มเนื้อหา บทความนี้ยังขาดแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง ทองหยอด (ไทย) แหล่งกำเนิด โปรตุเกส ภูมิภาค ประเทศไทย ส่วนผสมหลัก ไข่แดง น้ำตาล ตำราอาหาร: ทองหยอด (ไทย) โอวุชมอลึช (โปรตุเกส) แหล่งกำเนิด โปรตุเกส ภูมิภาค อาไวรู ส่วนผสมหลัก ไข่แดง น้ำตาล ตำราอาหาร: โอวุชมอลึช (โปรตุเกส) ทองหยอด (โปรตุเกส: Ovos Moles de Aveiro, โอวุชมอลึชดืออาไวรู) เป็นขนมโปรตุเกส มีถิ่นกำเนิดจากเมืองอาไวรู (Aveiro) เมืองชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศโปรตุเกส ทำจากแป้งผสมกับไข่แดงและน้ำ หยอดลงในน้ำเดือดเคี่ยวกับน้ำตาล เมื่อแป้งสุกจะเป็นเม็ดคล้ายหยดน้ำ มีสีเหลืองทอง ทองหยอดเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยท้าวทองกีบม้า ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

จ่ามงกุฎ

จ่ามงกุฎ

จ่ามงกุฎ เป็นชื่อขนมไทยชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกะละแมสีขาวไม่ใส่สี ทำจากแป้งข้าวเจ้าหรือแป้งข้าวเหนียวนวดผสมกับแป้งถั่วเขียว นำไปกวนกับกะทิและน้ำตาลทรายขาวจนเหนียว โรยเมล็ดถั่วลิสงคั่วซอยหรือเมล็ดแตงโมกะเทาะเปลือกเป็นไส้ในตัวขนม (สูตรโบราณจะโรยแป้งทอดตัดเป็นชิ้นเล็ก ๆ เท่าเมล็ดข้าวสุก ซึ่งใช้เวลาทำนานกว่า) จากนั้นตัดขนมเป็นก้อนพอคำ ห่อด้วยตองกล้วยเพสลาดที่นาบไว้แล้ว

ขนมไข่กระทา

ขนมไข่กระทา

ขนมไข่นกกระทาหรือขนมไข่เต่า ขนมไข่นกกระทาเป็นขนมทำจากแป้งข้าวเหนียวผสมมันเทศ ปั้นเป็นลูกเท่าไข่นกกระทา ทอด รสออกไปทางหวานและหอมมันเทศ บางประเภทผสมมันม่วง ส่วนขนมไข่เต่า เป็นขนมทำจากแป้งข้าวเหนียว ทำโดยการห่อไส้ถั่วทองผสมกับมะพร้าวทึนทึกค่อนแก่สับ รสหวาน คลุกกับงาให้เข้ากัน ก่อนที่จะนำไปทอด เป็นขนมที่นิยมมากในอดีตตั้งแต่สมัยสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา แม้กระทั่งรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบัน

กล้วยบวชชี

กล้วยบวชชี

กล้วยบวชชี เป็นขนมหวานไทยชนิดหนึ่ง ส่วนประกอบหลักของกล้วยบวชชีประกอบด้วย กล้วยน้ำว้า มะพร้าวหรือน้ำกะทิ ในสมัยก่อนคนไทยนิยมใช้กะทิเป็นส่วนประกอบของอาหารจึงทำให้เกิดเมนูนี้ ปัจจุบันสามารถใช้กล้วยไข่แทนได้ ชาวอีสานสมัยก่อนนิยมทำกล้วยบวชชีเพื่อรับประทานกันภายในครอบครัวหลังจากทำงานการเกษตร ทำไร่อย่างเหน็ดเหนื่อยโดยใช้วัตถุดิบจากกล้วยภายในบ้านของตนเอง นอกจากนี้ยังนำกล้วยบวดชีไปทำบุญที่วัด ใช้รับแขกที่มาบ้าน งานขึ้นบ้านใหม่หรือตามประเพณีต่าง ๆ สาเหตุที่ชื่อ กล้วยบวชชี เพราะสีจะค่อนข้างขาว จึงเปรียบได้กับเครื่องแต่งกายของชี

ฝอยทอง

ฝอยทอง

ฝอยทอง 
(โปรตุเกส: fios de ovos, ฟียุชดึโอวุช, “เส้นด้ายที่ทำจากไข่”) เป็นขนมโปรตุเกส ลักษณะเป็นเส้นฝอยสีทอง ทำจากไข่แดงของไข่เป็ด เคี่ยวในน้ำเดือดและน้ำตาลทราย ชาวโปรตุเกสใช้รับประทานกับขนมปัง กับอาหารมื้อหลักจำพวกเนื้อสัตว์ และใช้รับประทานกับขนมเค้ก โดยมีกำเนิดจากเมืองอาไวรู (Aveiro) เมืองชายฝั่งทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศโปรตุเกส ฝอยทองเป็นที่รู้จักในประเทศสเปนว่า อูเอโบอิลาโด (สเปน: huevo hilado “ไข่ที่ปั่นเป็นเส้นด้าย”), ในประเทศญี่ปุ่นว่า เครังโซเม็ง (ญี่ปุ่น: 鶏卵素麺 “เส้นไข่ไก่”), ในประเทศกัมพูชาว่า วาวีในประเทศมาเลเซียว่า จาลามัซ (มลายู: jala mas “ตาข่ายทอง”)และในมาลาบาร์เหนือ รัฐเกรละ ประเทศอินเดียว่า มุตตามาลา (มลยาฬัม: മുട്ടമാല “ฝอยไข่”)

ขนมหม้อแกง

ขนมหม้อแกง

ขนมหม้อแกง หรือ ขนมกุมภมาศ
เป็นขนมไทยชนิดหนึ่ง สร้างสรรโดยท้าวทองกีบม้า หรือ มารี กีมาร์ ส่วนประกอบ ในการทําคือ ไข่ แป้ง และกะทิ เป็นส่วนประกอบสําคัญนำผสมกันในถาดตามสัดส่วน ปัจจุบันมีการใส่ ถั่วเขียว และหอมเจียวมาผสม

ขนมครก

ขนมครก

ขนมครก
เป็นขนมไทยโบราณชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งน้ำตาลและกะทิ แล้วเทลงบนเตาหลุม เวลาจะรับประทานต้องแคะออกมา เป็นแผ่นวงกลม แล้วมักวางประกบกันตอนรับประทาน เป็นขนมของไทยที่มีมาตั้งแต่โบราณ นอกจากนี้ยังพบในพม่า เรียก โมก หลีน-มะย้า แปลว่า ขนมผัว-เมีย ลาว เรียก ขนมคก และอินโดนีเซีย ชาวอินโดนีเซียเรียกว่า เซอราบี (serabi)

ขนมตาล

ขนมตาล

ขนมตาล 
เป็นขนมไทยดั้งเดิม เนื้อขนมมีลักษณะเป็นแป้งสีเหลืองเข้ม นุ่ม ฟู มีกลิ่นตาลหอมหวาน ขนมตาลทำจากเนื้อตาลจากผลตาลที่สุกงอม แป้งข้าวเจ้า กะทิ และน้ำตาล ผสมกันตามกรรมวิธี ใส่กระทงใบตอง โรยมะพร้าวขูด และนำไปนึ่งจนสุก เนื้อลูกตาลยีที่เป็นส่วนผสมในการทำขนมตาล ได้จากการนำผลตาลที่สุกจนเหลืองดำ เนื้อข้างในมีสีเหลือง มีกลิ่นแรง ซึ่งส่วนมากจะหล่นจากต้นเอง มาปอกเปลือกออก นำมายีกับน้ำสะอาดให้หมดสีเหลือง นำน้ำที่ยีแล้วใส่ถุงผ้า ผูกไว้ให้น้ำตกเหลือแต่เนื้อลูกตาล ในปัจจุบัน หาทานขนมตาลรสชาติดีได้ยาก เนื่องจากปริมาณการปลูกต้นตาลที่ลดลง ขนมตาลที่ขายตามท้องตลาดส่วนใหญ่ ผู้ประกอบการมักใส่เนื้อตาลน้อย เพิ่มแป้งและเจือสีเหลืองแทน ซึ่งทำให้ขนมตาลมีเนื้อกระด้าง ไม่หอมหวาน และไม่อร่อย

ข้าวต้มมัด

ข้าวต้มมัด

ข้าวต้มมัด หรือ ข้าวต้มผัด เป็นขนมชนิดหนึ่งที่ทำด้วยข้าวเหนียวผัดกับกะทิ แล้วนำไปห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าวอ่อน ใส่ไส้กล้วย นำไปนึ่งให้สุก ทางภาคใต้ใช้ข้าวเหนียวกับน้ำกะทิ ห่อด้วยใบพ้อ เรียกห่อต้ม ถ้าห่อด้วยใบมะพร้าว และมัดด้วยเชือกเรียกห่อมัด ขนมแบบเดียวกับข้าวต้มยังพบในประเทศอื่นอีก เช่นในฟิลิปปินส์เรียก อีบอส หรือ ซูมัน ที่แบ่งย่อยได้หลายชนิดเช่นเดียวกับข้าวต้มมัดของไทย [1] อีบอส ขนมของฟิลิปปินส์ที่คล้ายข้าวต้มมัดของไทย ข้าวต้มมัดไส้กล้วย หรือ ข้าวต้มกล้วย ข้าวต้มมัดอีกชนิดหนึ่งเรียก ข้าวต้มลูกโยน เป็นขนมที่ใช้ในเทศกาลออกพรรษา ห่อด้วยใบพ้อหรือยอดมะพร้าวเป็นรูปรี ข้างในเป็นข้าวเหนียวผสมถั่วดำไม่มีไส้ ผูกเข้าด้วยกันเป็นพวงแล้วนำไปต้ม ส่วน ข้าวต้มมัดไต้ เป็นข้าวต้มที่ห่อแล้วมัดให้มีลักษณะเหมือนไต้ที่ใช้จุดไฟ ไส้เป็นถั่วทองโขลกกับรากผักชี กระเทียม พริกไทย ใส่หมู มันหมู ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำ น้ำตาลทราย ห่อด้วยใบตองเป็นแท่ง มัดเป็นเปลาะ 4-5 เปลาะ แล้วนำไปต้ม บางท้องที่ใช้เป็นขนมไหว้เจ้าในเทศกาลตรุษจีนและสารทจีนด้วย

ขนมถ้วย

ขนมถ้วย

ขนมถ้วย หรือ ขนมถ้วยตะไล 
เป็นขนมไทยที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า กะทิ และน้ำตาล นึ่งในถ้วยตะไลซึ่งเป็นถ้วยกระเบื้องเล็กๆ ชนิดหนึ่ง ใส่ใบเตยและราดด้วยน้ำกะทิอีกครั้ง บางครั้งอาจผสมเกลือหรือไข่ ย่านที่ขายและพบเห็นขนมถ้วยที่ได้บ่อยที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครคือตลาดนางเลิ้งในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย

ขนมถั่วแปบ

ขนมถั่วแปบ

ขนมถั่วแปบ
ขนมถั่วแปบ เป็นขนมไทยชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวห่อไส้ที่เป็นถั่วเขียวซีกเราะเปลือก มะพร้าวขูด แล้วนำไปนึ่ง ขนมที่มีลักษณะใกล้เคียงกับขนมถั่วแปบคือขนมเขียว มีไส้เป็นแบบเดียวกัน

ขนมอาลัว

ขนมอาลัว

อาลัว เป็นขนมหวานที่ทำจากแป้ง ผิวด้านนอกจะเป็นน้ำตาลแข็ง ด้านในเป็นแป้งหนืด มักทำเป็นอันเล็กๆ มีหลายสี มีกลิ่นหอมหวาน ขนมอาลัวมีต้นกำเนิดมาจากประเทศโปรตุเกส ได้รับการนำเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยครั้งแรกโดยคุณท้าวทองกีบม้า ภริยาของเจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ชาวกรีกซึ่งทำงานให้กับราชสำนักโปรตุเกส ภายหลังจึงมารับราชการในราชสำนักตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขนมอาลัวยังแบ่งได้เป็นสองชนิด คือ อาลัวชาววังและอาลัวจิ๋ว โดยอาลัวชาววังมีขนาดใหญ่กว่า และมีส่วนผสมของกะทิมากกว่าอาลัวจิ๋ว

ขนมเบื้อง

ขนมเบื้อง

ขนมเบื้อง
เป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เชื่อว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย มีลักษณะเป็นแผ่นแป้ง ส่วนผสมหลัก คือ แป้งข้าวเจ้า ไข่แดง น้ำปูนใส และน้ำตาลปี๊บ มีไส้รสต่างๆ มีหลักฐานกล่าวถึงในคำให้การขุนหลวงหาวัดว่า “บ้านหม้อปั้นหม้อข้าวหม้อแกงใหญ่เล็ก และกระทะเตาขนมครกขนมเบื้อง” ขนมเบื้องมีหลายแบบ ขนมเบื้องแบบไทยดั้งเดิม มีส่วนผสมหลักๆ คือ แป้งข้าวเจ้าและกะทิ ปรุงรสด้วยเกลือเท่านั้น ปัจจุบันไม่ค่อยมีใครทำแล้ว ขนมเบื้องไทยแบบชาววัง โดยทั่วไปมี 2 หน้าคือหน้ากุ้งและหน้าหวาน หน้ากุ้งใช้กุ้งแม่น้ำตัวโตสับละเอียดผสมกับพริกไทยและผักชีตำพร้อมมันกุ้ง นำไปผัดใส่น้ำตาล น้ำปลาหรือเกลือให้หอม ปัจจุบันมักเป็นหน้ามะพร้าวใส่สีแดง ส่วนหน้าหวานมีส่วนผสมของฟักเชื่อม ฝอยทองและพลับแห้งที่หั่นบางๆ ปัจจุบันมีแต่ฝอยทองกับครีม อย่างไรก็ตามในวังสวนสุนันทา มีหน้าหมูอีกอย่างหนึ่ง ใช้หมูสับคลุกคล้ากับกระเทียม พริกไทย รากผักชีโขลก ใส่พริกขี้หนู นำไปรวนพอสุก ขนมเบื้องญวน เป็นขนมที่เข้ามาพร้อมกับเชลยชาวญวนในสมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งถูกกวาดต้อนมาระหว่างสงครามสยาม-เวียดนาม ขนมนี้ทำจากแป้งละลายกับไข่ให้ข้น ตักแป้งเทลงในกระทะที่ทาน้ำมันไว้ แผ่เป็นแผ่นกลม ใส่ไส้แล้วพับกลาง

ขนมเทียน

ขนมเทียน

ขนมเทียน หรือ ขนมนมสาว 
ทางภาคเหนือเรียกว่า ขนมจ็อก ทางภาคใต้เรียกว่า ขนมเถ้าเป้า ส่วนภาษาอีสานเรียกว่า ขนมหมก ซึ่งเป็นขนมที่นิยมใช้ในงานบุญ โดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ แต่เดิมมีไส้มะพร้าวและไส้ถั่วเขียว แต่ในปัจจุบันมีการดัดแปลงไส้ออกไปหลากหลายมาก ชาวจีนใช้ขนมเทียนในการไหว้บรรพบุรุษช่วงวันตรุษและวันสารท ไส้เป็นถั่วเขียวกวนบด ถ้าแบบเค็มจะใส่พริกไทยและเกลือ แบบหวานใส่มะพร้าวและน้ำตาลลงไปเพิ่ม ถ้าตัวแป้งทำด้วยแป้งถั่วและเห็นไส้ด้วยเรียกขนมเทียนแก้ว ในพิธีกรรมของชาวชอง จะใช้ขนมเทียนในพิธีไหว้ผีหิ้งด้วย

ลูกชุบ

ลูกชุบ

ลูกชุบ เป็นขนมไทยชนิดหนึ่งทำด้วยถั่วเขียวบดกวนปั้นเป็นรูปร่างต่าง ๆ ระบายสี แล้วนำไปชุบวุ้นให้สวยงาม สีที่ใช้ทำลูกชุบนั้นนอกจากระบายลงบนถั่วเขียวกวนที่ปั้นแล้ว ยังใส่สีลงในถั่วกวนโดยตรงได้อีก เช่น สีเหลือง สำหรับขนมที่จะปั้นเป็นผลมะปรางใช้ฟักทองนึ่งแล้วยีละเอียดผสมในถั่วกวน สีแสด เช่นผลมะเขือเทศสีดา ใช้มะละกอสุกยีละเอียดผสมในถั่วกวน สีชมพู เช่น ชมพู่แก้มแหม่ม ใช้หัวบีทรูทต้มยีละเอียดกรองแต่น้ำผสมในถั่วกวน สีแดง เช่นผลเชอรี่ ใช้หัวบีทรูทเช่นกัน แต่ใส่ให้มากขึ้น สีเขียว เช่น พุทรามะยม ชมพู่เขียว ใช้ใบเตยหั่นละเอียดกรองเอาแต่น้ำ สีน้ำตาล เช่น ผลลำไย ละมุด ใช้ผงโกโก้ร่อน ผสมในถั่วกวน ลูกชุบเป็นขนมไทยอย่างหนึ่งที่ได้รับอิทธิพลมาจากขนมโปรตุเกสที่มีชื่อว่า มาร์ซีปัง (marzipã,marzipan)ซึ่งทำมาจากเม็ดอัลมอนด์บด

ขนมเปียกปูน

ขนมเปียกปูน

ขนมเปียกปูน 
เป็นขนมไทยประเภทกวน มักมีสีดำซึ่งได้จากกาบมะพร้าวเผาไฟ และสีเขียวเข้มที่ได้จากน้ำใบเตยคั้น สันนิษฐานว่าดัดแปลงมาจากกะละแมแต่ไม่ใส่กะทิสด ทำจากแป้งหมักเช่นเดียวกับขนมจีนหรือลอดช่อง ส่วนผสมในอดีตประกอบด้วย แป้งข้าวเจ้าหมักทิ้งไว้ แล้วนำมาโม่ด้วยโม่หินให้ละเอียดจนเป็นน้ำแป้ง ผสมน้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทราย ใบตาลเผาไฟ (ส่วนใหญ่ไม่ค่อยนิยม) และน้ำปูนใส เมื่อกวนเสร็จนำมาใส่ถาดทรงสี่เหลี่ยม หากเป็นสมัยโบราณเป็นถาดโบราณรูปทรงกลม เมื่อขนมแห้งตึงดีจึงใช้มีดตัดแบ่งออกพอเป็นคำ ๆ ชาวบ้านเรียกติดปากว่า “สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน” เวลารับประทานโรยด้วยมะพร้าวอ่อนขูดฝอยเคล้ากับน้ำเกลือหรือเกลือป่น ส่วนวัตถุดิบในปัจจุบัน คือ แป้ง น้ำตาล และน้ำใบเตยหรือน้ำจากกาบมะพร้าวเผาไฟ ขนมเปียกปูนกับขนมเปียก (หรือขนมเปียกอ่อน) มีลักษณะคล้ายกัน ขนมเปียกมีสีน้ำตาลที่ได้มาจากน้ำตาลโตนด ซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญของขนมเปียก ขนมเปียกมีเนื้อขนมที่ร่วนกว่าขนมเปียกปูน เนื่องจากไม่ได้ใส่น้ำปูนใส แต่จะเพิ่มหัวกระทิเข้าไป ทำให้ขนมเปียกมีรสชาติหวานมันมากกว่าขนมเปียกปูน มักรับประทานขนมเปียกกับถั่วทอง (ถั่วเขียวกระเทาะเปลือก)

ขนมชั้น

ขนมชั้น

ขนมชั้น เป็นขนมโบราณที่ใช้ในงานพิธีมงคล โดยมีความเชื่อแบบไทยว่าจะต้องหยอดขนมให้ได้ 9 ชั้น จึงจะเป็นศิริมงคลเจริญก้าวหน้าแก่เจ้าภาพสีที่พบบ่อยคือ สีเขียวจากใบเตยและสีน้ำเงินจากดอกอัญชัน เราจะพบขนมชั้นได้ในประเทศต่างๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ประวัติของขนมชั้นสามารถหาในเว็บไซต์ภาษาไทยแทบไม่เจอข้อมูลเลย แต่สามารถเจอในข้อมูลภาษาอังกฤษของขนมชั้นประเทศมาเลเซีย มาว่า ขนม Kueh Lapis หรือขนมชั้นในภาษามาเลย์ ขนมชั้นนิยมในช่วงเทศกาลตรุษจีน ฮารีรายอ ในมาเลเซีย สิงคโปร์ เว็บไซต์ของมาเลเซียเขียนว่ารับขนมชนิดนี้มาจากอินโดนีเซียเป็นอิทธิพลของชาวดัชต์หรือเนเธอร์แลนด์ เจ้าอาณานิคมอินโดนีเซีย โดยขนมเปลี่ยนจากการอบเป็นการนึ่งซึ่งเป็นวิธีการทำอาหารที่นิยมมากกว่าในประเทศแถบนี้ ดังนั้นทำให้ขนมชั้นจึงมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Steamed layer cake นั่นเอง (แปลตามตัวว่าว่าเค้กชั้นนึ่ง)

 

ทับทิมกรอบ

ทับทิมกรอบ

ทับทิมกรอบ 
เป็นขนมไทยที่สามารถรับประทานได้ทุกฤดูกาล นิยมมากที่สุดในฤดูร้อน รับประทานแล้วหอมหวานเย็นอร่อยชื่นใจคลายร้อนได้ดี ประกอบด้วยเม็ดทับทิมกรอบสีแดงและเม็ดทับทิมกรอบสีชมพู เมื่อเคี้ยวแล้วกรอบมันด้วยรสชาติของแห้ว มีน้ำเชื่อมที่ทำจากน้ำตาลทราย ลอยด้วยดอกมะลิ มีกะทิสดจากการคั้นมะพร้าว น้ำแข็งบดละเอียดหรือน้ำแข็งทุบให้เป็นเม็ดเล็ก ๆ รวมทั้งมีการแต่งกลิ่นให้หอมจากน้ำเชื่อมลอยดอกไม้ หรือใช้กะทิอบควันเทียน ทำให้มีรสชาติอร่อย และมีกลิ่นหอมชื่นใจเพิ่มขึ้นอีกประการ

ข้าวเหนียวมะม่วง

ข้าวเหนียวมะม่วง

ข้าวเหนียวมะม่วง เป็นขนมพื้นถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลายประเทศ นิยมรับประทานในช่วงฤดูร้อน เนื่องจากเป็นฤดูเก็บเกี่ยวมะม่วง ทำมาจากข้าวเหนียว มะม่วง และกะทิมีอายุการเก็บรักษาที่สั้นและมีปริมาณแคลอรี่ น้ำตาล และปริมาณไขมันสูงข้าวเหนียวมะม่วงโดยทั่วไปประกอบด้วยข้าวเหนียวมูนที่แต่งรสหวานโดยใช้น้ำตาลโตนดหรือน้ำตาลมะพร้าว มูนเข้ากับกะทิและเกลือรูปแบบที่รับประทานในประเทศไทยนิยมใช้มะม่วงสุกซึ่งมีรสชาติหวานกว่ามะม่วงดิบ โดยนิยมใช้มะม่วงน้ำดอกไม้เป็นพิเศษ และอาจพบว่าใช้มะม่วงอกร่องได้เช่นกัน